สุนันท์ ศรีจันทรา
หุ้นบริษัท เบทาโกร จำกัด (มหาชน) หรือ BTG เป็นหุ้นน้องใหม่ตัวล่าสุดที่ตอกย้ำให้เห็นว่า กรีนชูออปชัน หรือการขายหุ้นส่วนเกิน ไม่ใช่หลักประกันว่าเมื่อหุ้นใหม่เข้ามาซื้อขายในระยะ 30 วันแรก ราคาจะไม่ต่ำกว่าจอง

เพราะเพียงวันแรกที่ BTG เข้าซื้อขาย ราคาหุ้นหลุดจองทันที และกลไกกรีนชูออปชันก็ปล่อยให้หุ้นร่วงตามยถากรรม ไม่ได้ทำหน้าที่พยุงราคาหุ้น เพื่อป้องกันผลกระทบของนักลงทุนแต่อย่างใด

การขายหุ้นส่วนเกิน หรือกรีนชู นักลงทุนเว็บหวยออนไลน์ เชื่อถือได้ทั่วไปมักเข้าใจผิดว่าภายใน 30 วัน เมื่อหุ้นใหม่เข้าซื้อขาย ถ้าราคาต่ำกว่าจอง กรีนชูจะทำงานทันที โดยเข้ามาซื้อหุ้นคืนเพื่อพยุงไม่ให้ราคาหุ้นใหม่ต่ำกว่าจอง

และต้องซื้อจนครบจำนวนหุ้นกรีนชู

แต่ข้อเท็จจริงไม่ใช่สิ่งที่นักลงทุนเข้าใจ เพราะกรีนชูจะซื้อหุ้นคืนเมื่อไหร่ก็ได้ จะซื้อราคาเท่าไหร่ก็ได้ หรือไม่ซื้อหุ้นคืนเลยก็ได้อีกเหมือนกัน เพราะไม่มีข้อบังคับตายตัวว่า กรีนชูจะต้องซื้อเมื่อไหร่

กรณีหุ้น BTG มีกรีนชู 62.50 ล้านหุ้น เสนอขายในราคา 40 บาท โดยหุ้น BTG เปิดซื้อขายครั้งแรกต่ำกว่าจองทันที โดยเปิดที่ราคา 39.75 บาท และผู้ที่ตั้งราคาเสนอขายต่ำกว่าจองไม่น่าจะเป็นนักลงทุนที่จองซื้อหุ้นไว้ แต่อาจเป็นผู้ถือหุ้นเดิมที่เห็นว่าราคาหุ้นระดับ 40 บาท เป็นราคาที่สูง จึงชิงขาย

เพราะนักลงทุนที่จองซื้อไม่น่าจะมีใครเสนอขายหุ้นในราคาต่ำกว่าจองในช่วงเปิดการซื้อขายวันแรก และถ้าคิดว่าจะต้องเสนอขาย BTG ต่ำกว่าจอง จะจองซื้อหุ้นในราคา 40 บาทมาทำไม

ราคาหุ้น BTG ต่ำกว่าจองในวันแรกเป็นสิ่งที่น่าเกลียด และน่าอับอาย สำหรับผู้บริหาร BTG บริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน ซึ่งประกอบด้วยบริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) และบริษัทหลักทรัพย์ เกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) และบริษัทแกนนำผู้จัดการจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย หรือบริษัทอันเดอร์ไรเตอร์

เพราะทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีส่วนในความรับผิดชอบกับความเสียหายของนักลงทุนที่อุตส่าห์สนับสนุน จองซื้อหุ้น BTG ซึ่งควรได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนที่สมน้ำสมเนื้อ แต่กลับเจ๊งกันถ้วนหน้า

กลไกกรีนชูควรทำงานทันทีที่หุ้น BTG หลุดจอง แต่ที่ปรึกษาทางการเงินยังออกมาพูดให้นักลงทุนที่เจ๊งไปกับหุ้น BTG ต้องเจ็บใจอีก โดยอ้างว่ายังไม่ถึงเวลาต้องใช้ “กรีนชู”

คำถามที่ต้องถามกลับคือ แล้วบรรดาท่านบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินจะรอถึงเมื่อไหร่จึงใช้กรีนชู จะรอให้นักลงทุนเจ๊งหมดตัวก่อนใช่หรือไม่ หรือจะรอซื้อเมื่อ BTG ลงไปเหลือ 4 บาท

เมื่อนำหุ้นส่วนเกินมาขายในราคา 40 บาท หากราคาหุ้นหลุดจาก 40 บาท จะต้องซื้อหุ้นคืนทันที ไม่ใช่รอให้ BTG ลงมาลึกๆ จึงซื้อคืน เพื่อหากินกับส่วนต่างราคากันอีกรอบ นอกเหนือจากรับทรัพย์ค่าธรรมเนียมการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินไปแล้วรอบแรก

ตลาดหลักทรัพย์ควรตระหนักการทำหน้าที่ปกป้องนักลงทุนให้มากกว่าที่เป็นอยู่ โดยเฉพาะกรณีกรีนชู ซึ่งน่าจะออกมาชี้แจงนักลงทุนให้เข้าใจถึงระบบกรีนชูอย่างแท้จริง

และเตือนนักลงทุนให้ระมัดระวังหุ้นที่มีกรีนชู เพราะหุ้นใหม่นับสิบตัวแล้วที่มีกรีนชู แต่ราคาหุ้นกลับต่ำกว่าจองในช่วงวันแรกๆ หรือภายใน 30 วันที่หุ้นเข้าซื้อขาย

กรีนชูกำลังกลายเป็นกลไกที่ใช้ “แหกตา” นักลงทุนที่หลงเข้าใจผิดในกรีนชู และหุ้นที่มีกรีนชู กลายเป็นหุ้นอันตรายที่นักลงทุนควรหลีกเลี่ยง โดยหุ้น BTG เป็นบทเรียนความสูญเสียของนักลงทุนรายล่าสุด

หุ้นดี แนวโน้มผลประกอบการเติบโตสดใส ตั้งราคาขายเหมาะสม จะนำหุ้นเสนอขาย 5 พันล้านหุ้น หรือ 1 หมื่นล้านหุ้น นักลงทุนคงจองซื้อหมด โดยไม่จำเป็นต้องใช้กรีนชูมาเป็นตัวปลุกเร้าความเชื่อมั่น

หุ้นที่มีกรีนชู อาจเป็นหุ้นดีไม่จริง และกลัวขายหุ้นไม่หมด กลัวนักลงทุนไม่จองซื้อ จึงใช้กรีนชูเป็นลูกเล่นในการสร้างจุดขาย

กรีนชูกลายเป็นเรื่องราวในแดนสนธยาของตลาดหุ้น เพราะไม่เคยมีการแถลงถึงการทำงานของกรีนชูในหุ้นแต่ละตัว

หุ้นที่ราคาสูงกว่าจอง กรีนชูไม่มีความจำเป็นต้องใช้ และไม่มีความจำเป็นต้องแถลงใดๆ

แต่หุ้นใหม่ที่ราคาต่ำกว่าจองภายใน 30 วันหลังหุ้นเข้าซื้อขาย บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินควรแถลงถึงการทำงานของกรีนชู เพื่อความโปร่งใส และเพื่อให้นักลงทุนรับรู้ว่า กลไกกรีนชูทำอะไรไปบ้างในการรักษารักษาเสถียรภาพหุ้นใหม่

บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินเลือกที่จะเงียบเป็นเป่าสาก ไม่แถลงใดๆ เกี่ยวการทำงานของกรีนชู แม้นักลงทุนที่จองซื้อหุ้นใหม่จะเจ๊งวายวอดก็ตาม

และอาจรวมถึงบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินหุ้น BTG ซึ่งจะไม่ชี้แจงใดๆ เกี่ยวกับกรีนชู ทั้งที่นำหุ้นใหม่ตัวแสบมาสูบเงินจากกระเป๋านักลงทุน